วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันนี้เรียนอะไรไปบ้างจ้ะ???????

ซอฟแวร์ระบบ คือ คำสั่งที่ใช้ควบคู่กับฮาร์ดแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์มีประสิทธิภาพ สะดวกแก่ผู้ใช้ ให้สามารถทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้มากขึ้น แบ่งตามหน้าที่การทำงานได้เป็น
-ระบบปฏิบัติการ
-ตัวแปลภาษา
-โปรแกรมอรรถประโยชน์
ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งในการควบคุมการทำงานของซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ สำคัญที่สุด เพราะจะทำงานเบื้องหลังทั้งหมด แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
-Kernel คือ องค์ประกอบส่วนแกนกลาง ควบคุมและจัดการอุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์
-Shell เป็นโปรแกรมที่ติดต่อกับผู้ใช้ แบ่งเป็น Text Shell และ Graphic Shell
-โปรแกรมอรรถประโยชน์
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
-แบบ Single Task/Single User มีผู้ใช้เพียงคนเดียว ทำงานได้เพียงครั้งละงานเท่านั้น
-แบบ Multi Task/Single User มีผู้ใช้ทำงานหลายงาน ได้ในเวลาเดียวกัน
-แบบ Multi Task/Multi User มีผู้ใช้งานได้หลายคน และทำงานได้หลายงาน
-ระบบปฏิการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
-Microsoft เป็นที่นิยมกันมากที่สุด ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดส่วนบุคคล ครั้งแรกจะเป็นแบบ PC-DOS และ MS-DOS เป็นระบบที่ต้องป้อนคำสั่งจึงจะทำงานได้ ต่อมาก็พัฒนาขึ้นเป็น Window 1.0 และพัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็น Window XP ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนำข้อดีของ Window 2000 และ Window ME มาไว้ด้วยกัน และ Window XP ก็มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมาก
-Linux เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฟินแลนด์ ศ.แอนดรู ได้พัฒนาระบบขึ้นมา เพราะของเก่าไม่มีความสามารถเพียงพอ และต้องการทำความเข้าใจในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มากขึ้น เมื่อเขาพัฒนามาระยะหนึ่ง ก็ได้ชักชวนผู้สนใจมาพัฒนาต่อทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ Linux แพร่หลาย ของมหาลัยเรามีชื่อว่า บูรพาลินุกซ์ เป็นระบบการปฏิบัติการแบบ Multi Task/Multi User
-Apple เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ถูกผลิตโดยบริษัทApple และต้องใช้ระบบปฏิบัติการ Apple ด้วย เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะเป็น Multi Task/Multi User
-ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพกพา เช่น Palm OS Window CE Window Mobile








วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

จากปัญหาโลกร้อน และน้ำมันแพง นิสิตคิดว่าเราจะนำเอา IT มาช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้อย่างไร?!?

ภาวะโลกร้อนเป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ของมนุษย์โลก พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขให้โลกของเราได้อยู่ต่อไป และในยุคปัจจุบัน ในยุคที่ IT เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์ การนำ IT
มาช่วยลดภาวะโลกร้อนก็สามารถทำได้เพราะ IT คือเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถรับรู้ข่าวสารได้ และการที่เราจะนำ IT มาช่วยนั้นก็สามารถทำได้โดยง่าย เช่น การทำเว็บไซต์ซึ่งเป็นการนำ IT มาเป็นสื่อสารสนเทศในการรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลเสียของภาวะโลกร้อน และวีธีป้องกันแก้ไขที่จะต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกคน ตัวอย่างของ Google ที่มีการรณรงค์ให้ใช้ Google เวอร์ชันใหม่ที่เรียกว่า Blackle ซึ่งจะแตกต่างจาก Google แบบเก่าคือ Blackle จะมีหน้าจอเป็นสีดำ ซึ่งจะทำให้เราประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า Google แบบเก่าที่มีหน้าจอเป็นสีขาวสว่าง ซึ่งทำให้กินไฟประมาณ 75 วัตต์ต่อชั่วโมง ส่วนพื้นหลังสีดำจะกินไฟเพียง 15 วัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งในแต่ละวันมีคนใช้เว็บ Google ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านครั้งต่อวัน ก็จะช่วยประหยัดไฟไปได้ถึง 3000 ล้านวัตต์ต่อชั่วโมง ดังนั้น ใครที่ใช้ Google อยู่บ่อยๆก็ลองเปลี่ยนมาเข้าที่ http://www.blackle.com/ นับว่าเป็นวิธีง่ายๆที่เราก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เช่นกัน นอกจากนี้ Website การรณรงค์ประหยัดพลังงานรูปแบบต่างๆ การลดใช้พลาสติก การรณรงค์การปลูกต้นไม้ต่างๆ ซึ่งก็เป็นสื่อ IT ทั้งสิ้น

Bios คืออะไร?!?


Bios (Basic Input Output System) คือ ระบบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมระบบ Input Output ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์มาก โดยทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องระบบก็จะเริ่มต้นที่ Bios นั่นเอง ซึ่งมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 อย่าง ก็คือ

1. ตัวโปรแกรมของ Bios จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM ซึ่งมีความสามารถในการจดจำข้อมูลได้นานกว่า RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Bios ได้ทันทีที่เปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปใน ROM ได้

2. ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเขียนทับไฟล์ได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องไฟ ไม่เช่นนั้นข้อมูลจะหายไปจากระบบทันที โดยไฟนี้ได้มาจากแบตเตอรี่ที่ติดอยู่บน Mainboard นั่นเอง

นอกจากนี้ Bios ยังมีหน้าที่อื่นๆที่สำคัญอีก เช่น กำหนดการทำงานของ CPU , เป็นตัวเชื่อมและสนับสนุนการทำงานพื้นฐานของ Software ที่เราติดตั้ง

สิ่งที่เราควรทราบก็คือ เมื่อแบตเตอรี่เริ่มหมด วัน เวลา ในคอมพิวเตอร์จะผิดเพี้ยน ดังนั้นเราควรหาซื้อแบตเตอรี่มาเปลี่ยน ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายนาฬิกาทั่วๆไป

วันนี้เรียนอะไรไปบ้าง?!?

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1.อุปกรณ์ที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก
1.1 ตัวเครื่อง(case) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
-ตัวเครื่องแบบ Desktop
-ตัวเครื่องแบบ Tower
1.2 Monitor แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
-CRT
-LCD
*เวลาเลือกซื้อให้ดูที่ขนาด และดูความละเอียดสูงสุด(Max Resolation) ซึ่งสูดสุดคือ 1440*900 pixel
1.3 Keyboard ซึ่งจะมีหัวต่อแบบ PS/2 และ USB
1.4 Mouse ซึ่งจะมีหัวต่อแบบ PS/2 และ USB
2.อุปกรณ์ที่อยู่ภายในตัวเครื่อง
2.1 Mainboard
2.2 CPU
2.3 Main Memory
2.4 Hard Disks
2.5 Floppy Drive
2.6 CD Drive
2.7 Sound Card
2.8 Power Supply
***Hz วัดความเร็วรอบของ CPU คือจำนวนคำสั่งที่ CPU ประมวลผลได้ภายใน 1 วินาที
***K = Kilo (1000)
M = Mega (1000 000)
G = Giga (1000 000 000)
T = Tara (1000 000 000 000)
***ตัวอย่าง CPU ตัวหนึ่งทำงานได้ 2700 MHz
=2700 000 000 Hz
=2.7 GHz
***ตัวอย่าง CPU ตัวหนึ่งทำงานได้ 3.0 GHz
=3000 000 000 Hz
=3000 MHz