วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

การยศาสตร์ คืออะไร????

การยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์หมายความว่า “ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน“หรือ “การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน“ นั่นเอง และอีกความหมายหนึ่ง การยศาสตร์ คือ การศึกษาสภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยใช้หลักคิดว่า "เราจะทำให้คนทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร" การจัดสภาพแวดล้อมอย่างไร ที่จะทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ่ายค่าแรงน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตออกมามากที่สุด หรือพูดอีกอย่างว่าทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ไปพร้อม ๆ กัน ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน และได้มีสหภาพแรงงานเกิดขึ้น สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า “การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด” ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ “ เออร์โกโนมิคส์ “ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ ”การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอยู่“ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้ ความหมายของคำว่า “ เออร์โกโนมิคส์ “ อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Sanders และ McCormick (2530) ได้ให้ความหมายที่เน้นความสำคัญของมนุษย์เป็นหลักคือ การยึดลักษณะธรรมชาติมนุษย์เป็นเกณฑ์สำหรับการออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีการทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมใด ๆ อย่างมีเป้าหมาย กล่าวคือ การใช้ความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยอาศัยเหตุผลที่สอดคล้องกันระหว่างระบบ คน-เครื่องมืออุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน
ความหมายของคำว่าการยศาสตร์นั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้คำว่า human factors ในขณะที่ประเทศทางแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทยใช้คำว่า เออร์โกโนมิคส์ ทั้งสองคำนี้มีความหมายในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกัน บางครั้งอาจได้ยินคำว่า human factors engineering หรือ human engineering บ้าง ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงเออร์โกโนมิคส์นั่นเอง
สำหรับการใช้คำภาษาไทยในความหมายของเออร์โกโนมิคส์นั้น เท่าที่ผ่านมาก็ใช้คำว่า “วิทยาการจัดสภาพงาน”หรือคำอื่น ๆ แล้วแต่ความต้องการในการสื่อความหมาย และในท้ายที่สุดคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมศาสตร์สาขาเครื่องกลและอุตสาหกรรม ของราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาบัญญัติศัพท์ของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ ไว้คือ “การยศาสตร์“ ได้อธิบายว่า การย เป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึง การงานหรือ work และศาสตร์ก็คือ วิทยาการ หรือ science นั่นเอง รวมความเป็น work science ในปัจจุบันคำว่า “ การยศาสตร์ “ เป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
การยศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร
การยศาสตร์เป็นการจัดสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนการปฏิสัมพันธ์ระห่างคนกับเครีองมือ มีอะไรบ้างที่เรารู้ เกี่ยวกับร่างกาย และจิตใจมนุษย์ขณะทำงาน ? "จากความรู้ดังกล่าว เราควรออกแบบงาน เครื่องมือ สถานที่ทำงานให้มนุษย์ได้ทำงาน อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความพอใจ และมีความสุขในการทำงาน" (Kroemer, 1993) ส่วนประกอบในการทำงาน ประกอบด้วย
1. มนุษย์
2. Interaction ในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เป็นต้น 3. สภาวะแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ แสง สี เสียง ซึ่งหลักทางการยศาสตร์ เป็นการพยายามปรับงาน ให้เข้ากับคน คือ ปรับงานให้ทุกคนทำได้ และในท้ายสุด คือ การปรับคนให้เข้ากับงาน ตัวอย่างเช่น การคัดเลือกคนเข้าทำงาน เป็นแอร์โฮสเตส ต้องดูรูปร่างประกอบ ถ้าอ้วนไป การทำงานบนเครื่องบินอาจไม่คล่องตัว เป็นต้น
หลักการทำงานทางการยศาสตร์นั้น เรามักคำนึงถึงการออกแบบเครื่องมือ และการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นเรื่องที่สำคัญ ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์
1. สภาพแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ เสียง แสง ความสั่นสะเทือน อุณหภูมิ อากาศ สารเคมี
2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ เครื่องมือ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องจักร
3. ลักษณะงาน ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์
1. จิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความพอใจในการทำงาน ครอบครัว บุคลิกภาพ
2. ร่างกาย ได้แก่ ความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความสูง และน้ำหนักสัดส่วนของร่างกาย
3. ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ
4. กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก (Forceful Exertions)
5. กิจกรรมที่ทำซ้ำซาก (Repetitive Motions)
6. การบริหารจัดการ และจิตวิทยาสังคม (Organization and Psychosocial Work Factors)
7. ความสั่นสะเทือน (Vibration)
8. กิจกรรมที่ยาวนาน (Prolonged Activities)
9. ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward Working Postures)
10. การกดเฉพาะที่ (Localized Contact Stress)

ไม่มีความคิดเห็น: